Tag Archives: การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน

โค้ชวิธีคิด ปลดล็อคชีวิต พิชิตผลงาน โดย ศิริรัตน์ ศิริวรรณ

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโค้ชเพิ่มขึ้นจำนวนมาก โค้ชแต่ละท่านใช้กระบวนการและทักษะการโค้ชแตกต่างกัน องค์กรจำนวนไม่น้อยต่างเริ่มให้ความสำคัญกับการโค้ช และนำการโค้ชมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน โดบเฉพาะการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง รวมทั้ง Talent ขององค์กร

สำหรับผู้เขียน มีประสบการณ์การโค้ชให้แก่ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และ Talent หลักการสำคัญที่ผู้เขียนใช้ในการโค้ชคือ การโค้ชที่มุ่งไปที่การพัฒนา ‘วิธีคิด’ ของโค้ชชี่ ช่วยให้สมองของโค้ชชี่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการสื่อสารที่ทำให้โค้ชชี่เกิดความไว้วางใจ ผู้เขียนจะนำเสนอตนเองในฐานะกัลยาณมิตร เพื่อนร่วมทาง ผู้ให้กำลังใจ ผู้สนับสนุน มีความเข้าอกเข้าใจให้เสมอ และรับฟังโค้ชชี่โดยไม่ตัดสินตัวตนของโค้ชชี่ ทำใหโค้ชชี่รู้สึกสบายใจ ไว้วางใจที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเปิดกว้าง กล้าคิด กล้าริเริ่ม กล้าที่จะปลดปล่อยศักยภาพของตนเองออกมาอย่างมั่นใจ ปราศจากความวิตกกังวล ท่ามกลางบรรยากาศของความร่วมแรงร่วมใจ ไว้วางใจ โค้ชชี่จะเกิดการตื่นรู้ เข้าใจความจริงในแง่มุมต่างๆ ค้นพบบางอย่างเกี่ยวกับตนเอง มองโลกในแง่มุมที่แตกต่างไปจากเดิม ค้นพบเป้าหมาย และวิธีการจัดการกับสถานการณ์หรือวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายนั้นด้วยตนเอง

สรุปแล้ว ในการโค้ช ผู้เขียนจะดำเนินการตามเส้นทางต่อไปนี้

– สอบถามใเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ ระบุ ‘ประเด็นปัญหา’ ให้ได้ อย่าปล่อยให้โค้ชชี่จมอยู่ในทะเลของ ‘รายละเอียด’ นานเกินไป

– จากประเด็นปัญหา ให้หันมาโค้ชวิธีคิด โดยตั้งคำถามเกี่ยวกับมุมมอง ความคิดเห็น อารมณ์ ความรู้สึกของโค้ชชี่ และบุคคลอื่นหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

– ช่วงที่โค้ชชี่คิด ตอบคำถาม สมองจะเกิดการเชื่อมโยงข้อมูลเกิดความเข้าใจรู้แจ้งความจริง รวมถึงตระหนักในเป้าหมาย และค้นพบทางออกของปัญหาในที่สุด

– นำทางออกหรือวิธีดำเนินการ (Action) ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง พฤติกรรมและผลการปฏิบัติงานจะค่อยๆพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ดังนั้น การโค้ชจึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่โค้ชชี่ ‘ประสบการณ์ใหม่’ คือที่มาของ ‘วิธีคิดใหม่’ และ ‘พฤติกรรมใหม่’ อันนำไปสู่ ‘การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน’

หนังสือการโค้ชเพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงานที่ียอดเยี่ยม

 

 

 

 

 

 

 

 

What is Coaching?

มีข้อโต้เถึยงกันอย่างมากมายในวงการโค้ช ที่ปรึกษา วิทยากรของไทย เกี่ยวกับความหมายที่แท้จริงของการโค้ช (Coaching) ส่วนใหญ่การโต้เถึยงนั้นมีที่มาจากความคิด ความเชื่อ ค่านิยมส่วนบุคคล ลูกค้าเองก็ไม่เข้าใจว่าการโค้ชคืออะไร บางคนเข้าใจว่าเป็นการสอนงาน เพราะนักแปลทั้งหลาย แปลไว้เช่นนั้น ทำให้คนเข้าใจผิดมากขึ้น เมื่อใดก็ตามที่เรานำแก่นแท้ของการโค้ชมาพิจารณา มากกว่ายึดตัวบุคคล เมื่อนั้น การให้นิยามการโค้ชย่อมมีความถูกต้อง สอดคล้องกับหลักการมากขึ้น

การโค้ชทางธุรกิจนั้นแตกต่างจากการสอนงานแบบ (On-the-Job Training) และแตกต่างจากการโค้ชกีฬา (Sport Coach) หรือ การโค้ชการใช้เสียง (Voice Coach) อย่างมาก แม้ว่าจะมีเป้าหมายร่วมกันคือการพัฒนา และปลดปล่อยศักยภาพคน แต่วิธีการนั้นแตกต่างกันอย่างมาก โค้ชกีฬา และโค้ชเสียงสามารถให้คำแนะนำได้ทันที เช่น ในสนามการแข่งขัน โค้ชกีฬาคงไม่สามารถมานั่งตั้งคำถามเพื่อโค้ชนักกีฬา โค้ชกีฬาจึงมีความจำเป็นต้องให้คำแนะนำในสถาณการณ์นั้น ขณะที่โค้ชทางธุรกิจ หรือโค้ชผลการปฏิบัติงาน จะนั่งคุยหรือโทรคุยกับโค้ชชี่ภายใต้บรรยากาศของความร่วมแรงร่วมใจ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ และแสวงหาทางออกร่วมกัน

ประเด็นสำคัญคือคำว่า ‘สถานการณ์’ ไม่ใช่เราจะใช้การโค้ชได้ในทุกๆสถานการณ์ ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน ล้วนมีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบที่หลากหลาย เป็นทั้งผู้นำ และผู้บริหาร การตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ถ้าสถานการณวิกฤติ ไฟไหม้ห้องเก็บของ ผู้จัดการย่อมไม่อาจมานั่งโค้ชลูกน้อง ผู้จัดการต้องเข้าควบคุมสั่งการทันที

ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ใช่สถานการณ์เร่งด่วน หรือฉุกเฉินจริง เช่น พนักงานทำงานไม่เสร็จตามกำหนดเวลา ผู้จัดการสามารถทำการโค้ชได้ อาจผ่านรูปแบบของการให้ Feedback ที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มใจที่จะปรับปรุงผลพฤติกรรม และผลการปฏิบัติงาน

การโค้ชจึงเป็นเครื่องมือ และกระบวนการที่ผู้บริหารใช้ในการสื่อสารเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาผลการปฏิับัติงานของบุคคลอื่น เพื่อให้บุคคลนั้นปลดปล่อยศักยภาพสูงสุดออกมา ผู้จัดการ หรือหัวหน้างาน ไม่จำเป็นต้องรอให้เกืดปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นก่อนค่อยทำการโค้ช เช่น กรณีผู้ใต้บังคับบัญชาท่านหนึ่งได้รับมอบหมายโครงการใหม่ ท่า่นจึงทำการโค้ชผู้ใต้บังคับบัญชาท่านนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมของเขาสำหรับการรับผิดชอบงานที่ท้าทาย

ดังนั้น การโค้ชภายในองค์กร สามารถเรียกได้ว่าเป็น การโค้ชเพื่อบริหารผลการปฏิบัติงาน หรือ Performance Coaching ซึ่งสามารถทำได้ใน 3 ลักษณะคือ

1. การโค้ชเพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามความคาดหวัง หรือเป้าหมายขององค์กร ผ่านกระบวนการในการให้ Feedback

2. การโค้ชเพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงาน หรือขยายขีดความสามารถของพนักงาน

3. การโค้ชเพื่อกระตุ้นพฤติกรรมและผลการปฏิบัติงานเชิงบวก โดยผ่านการแสดงความชื่นชม

หลักการ แนวทาง หรือวิธีการโค้ชในสถานการณ์ต่างๆ ทำอย่างไร เชิญติดตามตอนต่อไปในวันพรุ่งนี้ค่ะ